พอดีว่าได้มีโอกาสไปร่วมทำงานวิจัยเรื่องการวางแผนการจัดการโรคไข้เลือดออกด้วยยุงติดเชื้อ Wolbachia ที่สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data institute) ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด โดยทางผมได้เสนอแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่มีการใช้ข้อมูลแผนที่ต่างๆ อย่างเช่น การกระจายตัวของประชากร ที่อยู่อาศัยหรือการกระจายตัวของยุง แผนที่ที่คาดว่ายุงสามารถอยู่อาศัยได้ และแผนที่ของการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อทำนายการกระจายตัวของโรคไข้เลือดออก และการวางแผนการปล่อยยุงที่ติดเชื้อ wolbachia รูปร่างหน้าตาของแบบจำลองคร่าวๆ ที่ให้ดูได้ก็จะประมาณนี้ครับ

ไอเดียก็ประมาณว่าถ้าในบริเวณไหนมียุงติดเชื้อ wolbachia บริเวณนั้น็จะไม่มีไข้เลือดออกเลย การกระจายของยุงและเชื้อไข้เลือดออกก็ขึ้นกับว่าบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงมียุง หรือยุงอาศัยได้หรือไม่ มีคนอาศัยอยู่หรือเปล่า จากงานนี้เราจะสามารถวางแผนได้ว่าจะปล่อยยุงติดเชื้อนี้อย่างไร ตรงไหนถึงจะคุ้มค่า ในช่วงระยะเวลาที่จำกัดได้