เรื่องมันมีอยู่ว่าแบบจำลองเรื่องการดื้อยาartemisininที่เสนอโดย Saralamba et al. (ผมและทีมงาน) ทำนายว่าการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาในการกำจัดเชื้อมาลาเรียจากร่างกายคนไข้เป็นผลมาจากการที่ระยะหนึ่งของเชื้อมาลาเรียที่เรียกว่า Rings หรือวงแหวนนั้นมีการตอบสนองกับยาลดลงพร้อมกับเสนอว่าถ้าเปลี่ยนการให้ยาคนไข้ทุก 24 ชม.มาเป็น ทุก12ชม.จะช่วยลดเวลาของการกำจัดเชื้อได้ดีกว่า แต่จากการศึกษาโดย Das et al. ที่ทดลองให้ยาทุก 12 ชม. และเพิ่มขนาดเป็นของยากับคนไข้มาลาเรียพบว่าระยะในการกำจัดเชื้อไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จากผลที่ได้นี้มันแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่เสนอไปนั้นต้องมีอะไรผิดพลาดแน่นอนและก็เลยทำให้มีการศึกษากันเพิ่มขึ้นพร้อมกับมีการเสนอสมมุติฐานต่างๆเพิ่มขึ้น
ในแบบจำลองอันเดิม เราสมมุติว่าหลังจากที่เชื้อโดนยาแล้วจะตายพร้อมกับถูกกำจัดออกจากร่างการเลย อย่างรวดเร็วโดยม้าม และเป็นเพราะด้วยเหตุผลนี้ที่ทำให้มีการเถียงกันเรื่องการใช้ระยะของการกำจัดเชื้อเป็นตัวบอกถึงการดื้อยาartemisinin ว่าอาจไม่เหมาะสม (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26239987) เพราะนั่นหมายความว่าถ้าเชื้อมันยังตอบสนองกับยาได้ดีอยู่ล่ะ แต่ม้ามมันกำจัดเชื้อที่ตายแล้วออกจากร่างการได้ช้ามันก็ดูเหมือนว่าเป็นเชื้อที่ดื้อยาถ้ายังใช้ระยะเวลาในการกำจัดเชื้อเป็นตัวบอกถึงการดื้อยา แต่มันก็มีหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าม้ามนั้นกำจัดเชื้อมาลาเรียได้เร็วมากในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาartemisinin (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28231817,https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11992295)
ผมและทีมงานก็เลยเปลี่ยนวิธีที่เชื้อมาลาเรียจะตอบสนองกับยาในแบบจำลองโดยแทนที่เชื้อจะตายเลยหลังจากที่โดนยาก็เปลี่ยนมามาอยู่ในสถานะที่เซลล์เสียหายจากยาแทนแล้วค่อยๆตาย และก็ให้ว่าถ้าเชื้อที่อยู่ในสถานะที่เซลล์เสียหายอยู่ถึงแม้จะโดนยาอีกก็ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ผลที่ได้จากแบบจำลองก็ดูเหมือนจะสอดคล้องกับทุกผลที่ได้จาก Das et al. นั่นก็คือถึงแม้จะให้ยาทุก 12 ชม.ก็ไม่ได้ลดระยะในการกำจัดเชื้อสักเท่าไหร่ กราฟด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างผลที่ได้จากแบบจำลอง สีชมพูแสดงการลดลงของเชื้อในคนไข้ที่กินยาทุก 24 ชม.และสีฟ้าสำหรับคนไข้ที่กินยาทุก12ชม. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่และกราฟนี้ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าเราทำการศึกษาแบบที่ Das et al. ทำ โอกาสที่เราจะได้ว่าระยะของการกำจัดเชื้อแบบกินยาทุก24ชม.กับทุก12ชม.จะไม่แตกต่างกันมีสูงถึง 99%
ส่วนด้านล่างนี้ผมทดลองรันแบบจำลองให้ยาวขึ้นเพื่อดูว่ามันจะทำให้ระดับของเชื้อลดลงไปจนถึงเป็นศูนย์หรือไม่โดยสีชมพูคือแบบที่คนไข้กินยาอาทีซูเนตวันล่ะเม็ดและสีฟ้าคือแบบทีกินวันล่ะสองเม็ด จะเห็นได้ว่ามันมีแนวโน้มที่เชื้อจะกลับมาในแบบจำลองนี้ทั้งที่ความเป็นจริงคนไข้เจ้าของข้อมูลนั้นหายจากมาลาเรีย ซึ่งก็เป็นอะไรที่ต้องแก้ไขต่อไป…อาเมน
ในการศึกษานี้ผมใช้ Stan ในการสร้างแบบจำลองและเปรียบเทียบผลที่ได้กับข้อมูลจริงจากคนไข้ครับ