โมเดลหมอกควัน

เมื่อปีที่แล้ว(2558)ผมได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มหนึ่งจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่สนใจใช้ทำแบบจำลองของการแพร่กระจายของหมอกควัน วิธีที่เด็กทำน่าสนใจมากคือใช้ข้อมูลจริงอย่างเรื่องทิศทางของลมมาช่วยบวกกับโมเดลที่คิดกันเองอัพเดทตามข้อมูลจริง โดยเด็กกลุ่มนี้ใช้ข้อมูลความเร็วและทิศทางลมที่ตำแหน่งต่างๆของบริเวณและช่วงเวลาที่สนใจซึ่งสามารถโหลดได้จากตัวโปรแกรม Mathematica ซึ่งหน้าตาของข้อมูลและบริเวณที่สนใจทำโมเดลก็ประมาณนี้ครับ

map-air

ในโมเดลที่เด็กคิดกันก็คือจะแบ่งกริดของแผนที่เป็นตารางเล็กๆ โดยที่หมอกควันที่เกิดขึ้นในตารางนี้จะแพร่กระจายไปบริเวณตารางเพื่อนบ้านได้ 4 ทิศทางคือบนล่างและซ้ายขวา ขึ้นกับทิศทางและความเร็วลมที่วัดได้ในตารางนั้นๆ

map-grid

ผลลัพท์จากโมเดลที่ได้ก็ประมาณนี้ครับ

map-air-xผลที่ได้จากโมเดลแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิดไฟไหม้ป่าที่อินโดนีเซีย ทางภาคใต้ของไทยเราก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน

map-results

%d bloggers like this: