ติดตั้ง driver ของ nvidia quadro บน Scientific Linux 6.1

พอดีว่าได้เครื่อง Dell Precision T1600 มาทำงานด้าน Molecular Simulation
เครื่องมีการ์ดจอที่สนับสนุน CUDA มาด้วยคือ Nvidia Quadro 2000
หลังจากติดตั้ง Scientifc Linux (SL6.1) เสร็จแล้ว ก็ทำการเพิ่ม Repository จาก elrepo.org เข้าไป
ตามนี้
rpm –import http://elrepo.org/RPM-GPG-KEY-elrepo.org

rpm -Uvh http://elrepo.org/elrepo-release-6-4.el6.elrepo.noarch.rpm

จากนั้นก็ติดตั้ง package ชื่อ kmod-nvidia

yum –disablerepo=\* –enablerepo=elrepo install kmod-nvidia 

แล้วก็ reboot เครื่องใหม่ เป็นอันเสร็จพิธี

ลอง render โครงสร้างของโปรตีนโดยใช้ VMD ปรากฏว่าเร็วมากอย่างเห็นได้ชัด

 

Fix Backbone Atoms & Restrain CA Atoms

Fix Backbone Atoms

set all [atomselect top all]
set to_fix [atomselect top “protein and backbone”]
$all set beta 0
$to_fix set beta 1
$all writepdb fix_backbone.pdb

Restrain CA Atoms

set all [atomselect top all]
set sel [atomselect top “protein and name CA”]
$all set beta 0
$sel set beta 0.5
$all writepdb restrain_ca.pdb

มาลองทำ Molecular Dynamics Simulation ของโปรตีนกันครับ 1

มาลองทำ Molecular Dynamics Simulation ของโปรตีนกันครับ

โปรแกรมที่ผมใช้ในการคำนวณคือ NAMD ส่วนที่เอาไว้ใช้ดูโครงสร้างสวยๆของโปรตีนคือ VMD

ทั้งสองโปรแกรมนี้ฟรีครับ

โปรตีนที่ผมพูดถึงนี้ก็คือ HIV 1-RT (reverse transcriptase) ครับ เราจะมาลองดูครับว่าเจ้าสาย DNA หรือโครงสร้างของโปรตีนแถวๆ Active site ของมันจะมีการเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างถ้าเราใส่ตัว Inhibitor หรือยาอย่าง adefovir หรือ tenofovir เข้าไป โครงสร้างของโปรตีนที่ผมใช้คือ 1T05 ซึ่งสามารถdownload ได้จากเวบ www.pdb.org

รูปด้านล่างนี้แสดงลำดับของนิวคลีโอไทด์กับตำแหน่งของกรดอะมิโนจากโปรตีนที่ผมว่าจะเอาไว้ดูว่ามันเจ้าสายDNA กับ HIV-RT มันมีอะไรกันหรือเปล่า จริงๆแล้วมันก็คือสะพานเกลือครับ 🙂 เรียกตรงๆเลย ผมสนใจว่าเจ้าฟอสเฟตจากสาย DNA กับพวกขั้วบวกจากกรดอะมิโนอย่างไลซีนกับอาร์จินินมันจะแนบแน่นขนาดไหนตลอดเวลาหรือเปล่า ซึ่งผมก็หาอยู่ตั้งนานก็เจอตัวที่ใกล้ที่กันมากที่สุดก็ตามรูปเลยครับ

ส่วนเจ้าสาย DNA เราก็จะดูว่า furanose ring มันมีการผับตัวหรือบิดยังไง (sugar puckering) ในตำแหน่งต่างๆ

แต่ก่อนจะไปดูว่าเราจะทำ Molecular dynamics ได้อย่างไรเราก็ควรจะเข้าใจก่อนสักนิดหนึ่งว่า Molecular dynamics คืออะไรซึ่งเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังคร่าวๆนะครับส่วนใครที่สนรายละเอียดทางด้านทฤษฎีของ Molecular dynamics ผมแนะนำให้อ่านหนังสือตามนี้เลยครับ

The Art of Molecular Dynamics Simulation by D. C. Rapaport

Understanding Molecular Simulation, Second Edition: From Algorithms to Applications (Computational Science) by Daan Frenkel and Berend Smit

Molecular Modeling and Simulation by Tamar Schlick

Molecular Modelling: Principles and Applications (2nd Edition) by Andrew R. Leach

Computer Simulation of Liquids by M. P. Allen and D. J. Tildesley

ทำไมถึงต้องเป็นห้าเล่มนี้ ง่ายๆเลยครับเพราะผมมีแค่ห้าเล่มนี้เอง 🙂

ต่อตอน 2

%d bloggers like this: