กำลังเตรียมdraft งานเก่าที่ทำมาหลายปีแล้วไม่ได้มีโอกาสส่งตีพิมพ์สักที เลยเอามาปัดฝุ่นใหม่โดยใช้ Mathematica รู้สึกได้เลยว่า code มันเขียนไม่กี่บรรทัดเอง แถมแชร์ก็ง่าย https://www.wolframcloud.com/obj/sompob/Published/NJW_Im4a.nb
Tag: model
P. falciparum in a patient during treatment with artesunate
หลังจากที่ดูของคนอื่นมานาน ก็เลยลองทำส่งบ้าง 🙂
มันเป็นโมเดลที่จำลองว่าปริมาณของเชื้อมาลาเรียในร่างกายของคนไข้จะเปลี่ยนไปอย่างไรระหว่างการรักษาด้วยยาอาทีซูเนท
http://demonstrations.wolfram.com/AModelOfPlasmodiumFalciparumPopulationDynamicsInAPatientDuri/
แบบจำลองการดื้อยา artemisinin ในเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum
เมื่อปี 2552 วารสารทางการแพทย์ชื่อ The New England Journal of Medicine ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาอันหนึ่งที่ทำให้แพทย์และนักวิจัยเรื่องโรค มาลาเรียต้องกังวลและระวังมากขึ้นในเรื่องของการใช้ยา artemisinin หรือยาอนุพันธ์ของมัน ผลการศึกษานั้นก็คือระยะการกำจัดเชื้อมาลาเรียที่ชื่อ Plasmodium falciparum โดยเฉลี่ยนั้นเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่กัมพูชาเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในไทย (1) ผลการศึกษานี้เป็นเหมือนสัญญาณเตือนอันหนึ่งว่าได้มีการดื้อยา artemisinin เกิดขึ้นแล้ว
ความเข้าใจเกื่ยวกับการดื้อยา artemisinin ที่เกิดขึ้นนี้ยังมีอยู่น้อยมาก แต่ในหมู่นักวิจัยด้วยกันก็ได้มีการเสนอสมมุติฐานขึ้นมาอธิบายการดื้อยานี้ โดยข้อสมมุติฐานอันหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากก็คือการดื้อยานี้เป็นผลมาจาก ประสิทธิภาพของยา artemisinin ลดลงที่ระยะ Ring ซึ่งเป็นระยะหนึ่งในช่วงการแพร่เชื้อแบบไม่อาศัยเพศของเชื้อมาลาเรีย การทดสอบสมมุติฐานนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาทั้งในผู้ป่วยและในห้อง ปฏิบัติการแต่ก็ได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาศึกษาสมมุติฐาน นี้ด้วยเช่นกัน (2) ซึ่งผลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้สนับสุนนสมมุติฐานที่ว่าประสิทธิภาพของยา ลดลงที่ระยะ Ring ของเชื้อมาลาเรียและยังทำนายด้วยว่าถ้าเพิ่มความถี่ของการให้ยา artemisinin เป็น 2 ครั้งต่อวันจะมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่าการเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อ้างอิง
1. Dondorp AM, et al. (2009) Artemisinin resistance in Plasmodium falciparum malaria. N Engl J Med 361:455–467
2. Saralamba S, et al. Intrahost modeling of artemisinin resistance in Plasmodium falciparum. Proc Natl Acad Sci USA January 4, 2011 vol. 108 no.1 397-402