Kung package แพ็คเกจกุ้ง

แพ็คเกจกุ้งเป็นแพ็คเกจภาษา R ที่ผมเขียนขึ้นมาสำหรับใช้สร้าง Shiny App สำหรับโค้ดของโมเดลที่สร้างจากสมการอนุพันธ์หรือ ODE ที่ใช้ตัว solver จากแพ็คเกจที่ชื่อ deSolve ครับ

ไอเดียก็มีเพียงว่าจากสมการ ode ที่สร้างขึ้นมาด้วยถ้าตัวแปรในสมการมีการเปลี่ยนแปลงค่า ผลลัพท์ที่ออกมามันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การเขียนใน R นั้นเราก็อาจจะใช้คำสั่ง manipulate มาช่วยได้แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนของตัวแปรที่สามารถเรียกมาใช้ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับขนาดหน้าจอของตัว plot ผมเลยคิดว่าถ้าใช้ shiny มันน่าจะดูดีกว่าและสามารถใส่ตัวแปรได้มากกว่า ขึ้นกับการออกแบบ ui แต่การเขียน shiny ก็ไม่ใช่ว่าจะง่ายสำหรับคนเริ่มเรียนรู้ R ผมเลยคิดว่าน่าจะเขียนแพ็คเกจที่สามารถช่วยเรื่องนี้ได้

แพ็คเกจที่เขียนก็พยายามทำให้มันใช้ง่ายมากที่สุดจาก code ที่มีอยู่แล้ว โดยผู้ใช้เพิ่มคำสั่งไม่มากก็สามารถที่จะสร้าง shiny application ได้แล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้มี code อยู่แล้วตามนี้ ซึ่งมันจะคำนวณและ plot กราฟให้ตามค่าของตัวแปรพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ เช่น gamma = 0.14286 และ beta = 0.6

library(deSolve)

init <- c(S = 1-1e-6, I = 1e-6, R= 0.0)
times <- seq(0, 70, by = 1)

sir <-function(time, state, parameters) {
  with(as.list(c(state, parameters)), {
    dS <- -beta*S*I
    dI <- beta*S*I - gamma*I
    dR <- gamma*I
    
    return(list(c(dS, dI, dR)))
  })
}

parameters <- c(
  gamma = 0.14286, 
  beta = 0.6
)

out <- as.data.frame(ode(y = init, times = times, func = sir, parms = parameters))

matplot(times, out[,c("S","I","R")], type = "l", xlab = "Time", ylab = "Susceptibles and Recovereds", main = "SIR Model", lwd = 1, lty = 1, bty = "l", col = 2:4)
legend(40, 0.7, c("Susceptibles", "Infecteds", "Recovereds"), pch = 1, col = 2:4)

ถ้าผู้ใช้ต้องการดูว่ากราฟจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรถ้าตัวแปร gamma หรือ beta มีการเปลี่ยน ก็เพียงเพิ่ม code ลงไปในส่วนต่างๆ ตามนี้

!Start

library(deSolve)

init <- c(S = 1-1e-6, I = 1e-6, R= 0.0)
times <- seq(0, 70, by = 1)

sir <-function(time, state, parameters) {
  with(as.list(c(state, parameters)), {
    dS <- -beta*S*I
    dI <- beta*S*I - gamma*I
    dR <- gamma*I

    return(list(c(dS, dI, dR)))
  })
}

!Parameters
parameters <- c(
  gamma = 0.14286,
  beta = 0.6
)

!ODECMD
out <- as.data.frame(ode(y = init, times = times, func = sir, parms = parameters))

!PostProcess

!Plots
matplot(times, out[,c("S","I","R")], type = "l", xlab = "Time", ylab = "Susceptibles and Recovereds", main = "SIR Model", lwd = 1, lty = 1, bty = "l", col = 2:4)
legend(40, 0.7, c("Susceptibles", "Infecteds", "Recovereds"), pch = 1, col = 2:4)

!Controls
sliderInput("beta","beta", min = 0,max = 10,step = 0.001,value = 1.4),
sliderInput("gamma","gamma", min = 0,max = 1,step = 0.001,value = 0.14)

!End

จะเห็นว่ามี keywords ที่เพิ่มเข้าไปดังนี้

!Start – เป็นตัวบอกเริ่มต้น เราสามารถบอกรายละเอียดของตัวแปรอย่าง เวลา และค่าเริ่มต้นของ state หรือ compartment ต่างๆและ function ของระบบสมการหลักที่จะแก้ด้วย deSolve::ode ใน keywords นี้ได้เลยครับ

!Parameters – เป็นตัวแปร parameters ของโมเดล ode ครับ ซึ่งต้องกำหนดเป็น vector ตามตัวอย่างนี้เลยครับ

!ODECMD – สำหรับคำสั่งที่ต้องใช้คำสั่ง ode จาก deSolve ครับ สำหรับตอนนี้ต้องให้ตัวแปร output ชื่อ out นะครับ

!PostProcess – ถ้ามีการคำนวณค่าอะไรบางอย่างจาก out ก็ให้ใส่ใน keyword นี้ได้เลยครับ

!Controls – สำหรับใส่ sliders ของตัวแปรที่สนใจครับ

!End – สำหรับบอกว่าจบแล้ว 🙂

โดยหลังจากที่ใส่ keywords และsave เป็นไฟล์ใหม่แล้ว เช่นชื่อ mysystem.R เราสามารถสร้าง shiny app ได้ด้วยการรันคำสั่งนี้ครับ

runSystem(‘mysystem.R’)

ผลที่ได้ก็จะประมาณนี้ครับ

ถ้าสนใจอยากใช้งานก็ทำการติดตั้งได้โดยพิมพ์

devtools::install_github('slphyx/Kung')

ดูเพิ่มเติมที่ https://github.com/slphyx/Kung

ปัญหา unlock_solver จาก แพ็คเกจ deSolve

ถ้าใครที่เจอปัญหา unlock solver ตอนที่ใช้คำสั่งพวก ode solver จาก แพ็คเกจ deSolve เช่น

Error in .C(“unlock_solver”) :
“unlock_solver” not resolved from current namespace (deSolve)

 

ให้ลองแก้ปัญหาโดยโหลด deSolve ด้วยคำสั่งนี้แทนครับ

library.dynam.unload(“deSolve”, libpath=paste(.libPaths()[1], “//deSolve”, sep=””))
library.dynam(“deSolve”, package=”deSolve”, lib.loc=.libPaths()[1])

 

หรือไม่ก็ลองโหลด deSolve ก่อนที่จะเรียกใช้งานพวก shared library (.dll, .so) ครับ

 

 

 

maemod package

จากที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับ r package อันหนึ่งที่ผมเขียนชื่อ maemod สำหรับช่วยให้คนที่สนใจอยากคำนวณพวก ode ได้ง่ายขึ้น (ดูข้างล่าง)

maemod (แม่มด)

มีคนสนใจว่าถ้าพวกตัวแปร state ต่างๆนั้นเป็นแบบ array จะทำอย่างไร ผมเลยเขียนตัวอย่างพร้อมกับเพิ่มความสามารถด้านarrayนี้เข้าไป พอใช้ได้ไปคร่าวๆก่อน ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ

# Example from Berkeley Madonna
 # for using Array
 # METHOD RK4
 #
 # STARTTIME = 0
 # STOPTIME = 20
 # DT = 0.02
 #
 # d/dt (A[1]) = -k[1]*A[1]
 # d/dt (A[2..n-1]) = k[i-1]*A[i-1]-k[i]*A[i]
 # d/dt (A[n]) = k[n-1]*A[n-1]
 #
 # init A[1] = 100
 # init A[2..n]=0
 #
 # k[1..n] =1
 # n = 14
 #
 #

arrayEx <-'
 !ExtraFunctions
 n<-14

!Equations
 dA <-rep(0,n)
 dA[1] <- -k[1]*A[1]
 #ArrayB
 "dA[i.indx] <- k[i.indx-1] *
 A[i.indx-1]-k[i.indx]*A[i.indx]"%@@%list("i.indx"%=>%2:(n-1))
 #ArrayE
 dA[n] <- k[n-1]*A[n-1]

!Parameters
 1,1,1,1,1,1,1,1,1,1,1

!Inits
 100,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0

!Outputs
 c(dA)

!Plots

!MAEMOD_End
 '
 out<-maemod.ode(input.text = arrayEx ,timegrid = seq(0,20,0.02),sys.template = Maemod_Array)
 plot(out[,c(1,2)],type = 'l')
 cols<-rainbow(14)
 for(i in 3:n) lines(out[,c(1,i)],col=cols[i])

ในเบื้องต้นนี้ ตัวstate กับ parameter จะต้องเป็น A กับ k เท่านั้น จากตัวอย่างเราสามารถที่จะdefine ตัวแปรที่ index ต่างได้ เช่น ต้องการ

d/dt (A[2..n-1]) = k[i-1]*A[i-1]-k[i]*A[i]

โดยที่ i มีค่าตั้งแต่ 2 ถึง  n

เราก็สามารถพิมพ์ตามนี้ได้

#ArrayB

"dA[i] <- k[i-1]*A[i-1]-k[i]*A[i] "%@@%list('i'%=>%2:n)

#ArrayE

เจ้าเครื่องหมาย %@@% เป็นตัวบอกว่าเราจะใช้ array กับ สมการด้านซ้ายมือของเคื่องหมายและindexจะอยู่ด้านขวาของเครื่องหมาย ซึ่งจะต้องเป็นตัวแปรแบบ list

ส่วนเครื่องหมาย %=>% บอกว่าสัญลักษณ์หรือรูปแแบบindexด้านขวาจะมีค่าเปลี่ยนไปตาม vector ด้านซ้าย เช่น ‘i’%=>%2:n จะหมายถึง i มีค่าตั้งแต่ 2 ถึง n

ส่วน #ArrayB และ #ArrayE เป็น block ที่บอกว่ามีการใช้ ตัวแปรแบบ array ในข้อความที่อยู่ใน block นี้ครับ

codeที่มีarray blockนี้เวลาเอาไปใช้กับ maemod.ode จะต้องใช้กับtemplate เฉพาะที่ชื่อ Maemod_Array นั่นก็คือต้องเซ็ต option ชื่อ sys.template = Maemod_Array ครับ

สนใจอยากลองใช้งานก็ดูได้ที่

https://github.com/slphyx/maemod

 

ใช้ประโยชน์จาก rstan

ถ้าใครได้ใช้ deSolve สำหรับแก้ปัญหาเชิงตัวเลขของระบบสมการเชิงอนุพันธ์(ode) แล้วจะเห็นว่ามันมีข้อจำกัดเรื่องความเร็วอยู่ เพราะถ้าเขียน function ของสมการด้วย R แล้วจะช้ามาก ยิ่งถ้ามีการเอาfunction ไปใช้ fitting ด้วยเทคนิคอย่าง Markov chain monte carlo แล้วนี่เลิกคิดได้เลยสำหรับระบบใหญ่ ๆ

deSolve เองก็พยายามแก้ปัญหานี้ โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ function ที่เขียนใน C/C++ ที่คอมไพล์แล้วมาใช้ได้ แต่ก็ยังดูยากพอสมควรสำหรับคนที่ไม่เคยเขียน C/C++ เลย แต่มันก็ยังพอมีวิธีที่ดีกว่าหน่อยที่อยากจะแนะนำสำหรับคนที่อยากจะเพิ่มความเร็วสำหรับใช้กับ deSolve  นั่นก็คือเขียน ในภาษาของ rstan แทนครับ

โดยหลักการก็คือเขียนสมการใน rstan แล้วใช้คำสั่งของ rstan ที่เรียกว่า expose_stan_functions เพื่อที่จะคอมไพล์ function แล้วเราก็จะยังเรียกใช้ได้ใน .GlobalEnv นั่นหมายความว่าเราสามารถเรียกใช้ function ที่คอมไพล์แล้วนี้กับ deSolve ได้ครับ

ตัวอย่างเช่น ผมเขียนสมการ lorenz ในไฟล์ชื่อ lorenz.stan

##lorenz.stan
functions{
  vector lorenz(real t,vector y,vector parms){
    vector[3] ydot;
    // parms[1]=beta ,[2]=sigma,[3]=rho
    
    ydot[1]=parms[2]*(y[2]-y[1]);
    ydot[2]=y[1]*(parms[3]-y[3])-y[2];
    ydot[3]=y[1]*y[2]-parms[1]*y[3];

    return ydot;
  }
}
model{
}

จากนั้นก็ใช้ expose_stan_functions เรียกจากใน R ได้เลยตามนี้ครับ

library(rstan)

expose_stan_functions("lorenz.stan")

# parms[1]=beta ,[2]=sigma,[3]=rho
parameters1<-c(2.66666,10,28)

# x=-10, y=-12, z=30.05
init.state<-c(-10,-12,30.05)

nderivs<-function(t,state,parameters){
  tmp<-lorenz(t,state,parameters)
  return(list(tmp))
}

run1<-ode(y=init.state,times=seq(0,15,0.01), 
   func=nderivs, parms=parameters1)

plot(run1)

 

 

%d bloggers like this: