แบ่งคำ/ตัดคำ ภาษาไทยใน R ด้วย SWATH

โปรแกรมที่ช่วยในการแบ่งคำหรือตัดคำภาษาไทยที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งนอกเหนือจาก LexTo (http://www.sansarn.com/lexto/) ก็มี SWATH (https://linux.thai.net/projects/swath) ครับ

SWATH มีความสามารถที่จะใช้ตัดคำภาษาไทยที่อยู่ในหลาย file format ครับไม่ว่าจะเป็น LaTex, HTML, RTF หรือ plain text  แต่การใช้งานต้องใช้ในแบบ command line ไม่มี GUI ครับ โดย swath จะมี options ต่างให้

เพื่อความสะดวกเอาไปใช้ใน R บน Windows ผมเลยเขียน packageเพื่อเรียกใช้งาน SWATH แบบง่ายๆไว้ที่ https://github.com/slphyx/RSwath หรือดูเพิ่มเติมที่ http://www.sakngoi.com/2018/01/23/rswath-the-r-interface-to-swath/

การใช้งานก็เริ่งจากติดตั้งจาก github ด้วยคำสั่ง

library("devtools")
install_github("slphyx/RSwath")

จากนั้นก็เรียกใช้งาน

library("RSwath")

การใช้งานกับไฟล์ข้อความที่เป็นภาษาไทยที่ต้องการแบ่งสมมุติว่าชื่อ testTH.txt แล้วต้องการให้ไฟล์ที่แบ่งคำแล้วด้วย SWATH ชื่อ testTHX.txt ก็เพียงพิมพ์

rswath(inputfile="testTH.txt",outputfile="testTHX.txt")

ตัวอย่างไฟล์ที่ใช้กับswathกับผลลัพธ์ที่ได้

 

RSwath: The R Interface to SWATH

RSwath: The R Interface to Swath ผมเอา SWATH (https://code.google.com/archive/p/swath/) มาทำเป็น r-package สำหรับใช้ใน R บน Windows ครับ

ตอนนี้มันยังเป็นรุ่นเก่าอยู่ (swath 0.3.4) ครับ

SWATH ก็เป็นตัวแบ่งคำภาษาไทยอีกตัวหนึ่งที่พัฒนาโดยท่าน Phaisarn Charoenpornsawat และท่าน Theppitak Karoonboonyanan ครับ
สนใจใช้งานก็ไปที่ https://github.com/slphyx/RSwath

การใช้งานก็เริ่มจากติดตั้งจาก github ด้วยคำสั่ง

library("devtools")
install_github("slphyx/RSwath")

จากนั้นก็เรียกใช้งาน

library("RSwath")

การใช้งานกับไฟล์ข้อความที่เป็นภาษาไทยที่ต้องการแบ่งสมมุติว่าชื่อ testTH.txt แล้วต้องการให้ไฟล์ที่แบ่งคำแล้วด้วย SWATH ชื่อ testTHX.txt ก็เพียงพิมพ์

rswath(inputfile="testTH.txt",outputfile="testTHX.txt")

ตัวอย่างไฟล์ที่ใช้กับswathกับผลลัพธ์ที่ได้

 

 

 

 

LexTo บน Windows

ผมเอา code LexTo เค้ามาลองเขียนเล่นสำหรับใช้งานแบบ offline บน Windows (7, 8 และ 10)ครับ

สนใจdownload ได้ที่นี่ครับ

ที่download มันจะเป็นไฟล์ zip ที่มีตัวโปรแกรมชื่อ Araiwa.exe กับไฟล์ dictionary ชื่อ lexitron.txt พร้อมกับไฟล์ araiwadll.dll ก็ให้แตกไฟล์ zip นี้ออก แล้วdouble click ที่ไฟล์ Araiwa.exe ได้เลยครับ

ส่วนใครที่อยากใช้มันใน R ผมเขียนเป็นpackage เรียกมันว่า araiwa ครับ ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://github.com/slphyx/Araiwa

RLongLexTo แบ่งคำภาษาไทยใน R

จาก http://wp.me/p1rsA6-pn

ผมเอา code ที่เขียนมาทำเป็น r-package แล้วเรียกมันว่า RLongLexTo (https://github.com/slphyx/RLongLexTo) ครับเผื่อว่าใครอยากเอาไปพัฒนาต่อ  เบื้องต้นนี้ผมทดสอบเฉพาะสำหรับใช้งานบนวินโดว์ 10 เท่านั้น

วิธีติดตั้ง

*RLongLexTo ต้องการบางคำสั่งจาก package rJava ครับ ดังนั้นผู้ใช้ก็ต้องลง rJava ก่อนครับ

library(rJava)
library(devtools)
install_github("slphyx/RLongLexTo", INSTALL_opts="--no-multiarch")

##คำแนะนำสำหรับผู้ที่ลง rJava แล้วมีปัญหาใช้RLongLexToไม่ได้ ผมแนะนำให้ลง java JDK (http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html) หรือไม่ก็ลองดูเรื่อง PATH ของ Java ก่อนครับ

ใน RLongLexTo นี้จะมีคำสั่งหลักคือ RLongLexToC ที่จะทำการรับข้อความภาษาไทยมาเพื่อทำการแบ่งคำ

วิธีการใช้งาน

RLongLexToC("ข้อความที่ต้องการแบ่งคำ")

หากมีปัญหาเรื่องการแสดงผลภาษาไทยก็ให้ลองเซ็ตlocaleเป็นภาษาไทยก่อนใช้งานอีกทีครับ

Sys.setlocale(locale="Thai")

rlonglexto3

มีหลายคนเมล์มาสอบถามเรื่องการเอา RLongLexTo ไปใช้พร้อมกับถามเรื่องรายละเอียดของอัลกอรึทึ่มด้วย ซึ่งผมก็อยากบอกตรงนี้เลยนะครับว่าผมไม่รู้เรื่องหรอกครับ  ผมเพียงแต่เอา code ต้นฉบับมาดัดแปลงให้ใช้ใน R ตามที่มีคนถามมาและผมก็ว่างทำให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้นครับ

ส่วนตัวแล้วผมอยากจะบอกว่าคำสั่งสำหรับจัดการเรื่องข้อมูลประเภท string จาก package ชื่อ stringr หรือ stringi ครับ ก็มีเรื่องการแบ่งคำก็เช่นกันครับ  เช่น stringr มีคำสั่งช่วยเรื่องแบ่งคำอยู่แล้วซึ่งใช้ได้กับภาษาไทยด้วย ตัวอย่างเช่น str_split เป็นคำสั่งจาก stringr ที่เราสามารใช้แยกstring ให้ได้เพียงแค่บอกว่าจะแยกเป็นคำหรือเป็นประโยค

ลองไปดูเพิ่มเติมที่ http://stringr.tidyverse.org/ ครับ

จริงๆแล้ว stringr ก็เขียนมาจาก stringi เพื่อทำให้ใช้ง่ายขึ้น โดยที่ stringi นี้ก็คือ wrapper ของ ICU library ครับ ซึ่งICUนี้มีความสามารถในการแบ่งคำภาษาไทยด้วย (ต้องขอบคุณผู้ที่พัฒนานี้จริงๆ) ICU มี demo ให้ทดลองใช้งานด้วยครับที่ http://demo.icu-project.org/icu-bin/icusegments

ตัว RLongLexTo มันก็ยังมีข้อดีอยู่บ้างครับ เพราะตัวมันเองใช้ dictionary พจนานุกรมเป็นตัวช่วยในการแบ่งคำ นั่นก็หมายความว่าผู้ใช้สามารถที่จะปรับแต่งหรือเพิ่มเติมคำได้ตามที่ต้องการเลย และใน RLongLexTo นี้ผมใส่ตัวแปรชื่อ path.dic ไว้สำหรับใช้กับพจนานุกรมของผู้ใช้เอง ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะ download พจนานุกรมจากเวบของ Lexitron มาแก้ไขดัดแปลงเองหรือจะเพิ่มจากที่ผมเตรียมไว้แล้วกับแพคเกจนี้ครับ

%d bloggers like this: